วันอังคารที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2554

Letter Of Credit

การชำระเงินผ่านธนาคารนั้น เราเรียกว่า Letter of Credit หรือ L/C เป็นวิธีการที่ดีแต่ก็มีข้อผิดพลาดขึ้นได้ อย่างเช่นความไม่เข้าใจในข้อตกลงระหว่างกันเองของผู้ซื้อกับผู้ขาย ซึ่งอาจจะมีเงื่อนไขที่ไม่อาจปฏิบัติได้จริงอย่างเช่นเรื่องของระยะเวลาการเดินทางของเรือสินค้า 15 วัน แต่ตกลงกันใน L/C 10 วัน หรือ 15 วันพอดี แต่เมื่อสินค้าไปไม่ทันตามเวลาที่ระบุไว้ใน L/C ก็ถือว่าผิดข้อตกลง เพราะอย่าลืมว่าการขนส่งสินค้าทางเรือนั้นบางครั้งเราก็ไม่อาจจะกำหนดให้สินค้าไปถึงที่หมายได้ทันเวลา ดังนั้นระยะเวลาที่ระบุใน L/C นั้น ต้องให้ระยะเวลาสำหรับการผลิต การจัดเตรียมเอกสารส่งออก รวมถึงระยะเวลาการส่งเอกสารไปแสดงกับธนาคารผู้เปิด L/C นอกจากนี้อาจจะมีข้อผิดพลาดในเรื่องของเอกสาร เช่น การขาดเอกสารแนบบางตัว การไม่เซ็นต์รับรองเอกสาร ไม่ทำการสลักหลังเอกสารตามที่ระบุใน L/C เป็นต้น จะเห็นว่าแต่ละขั้นตอนต้องอาศัยความละเอียดในการตรวจสอบ มีความซับซ้อน และเป็นการเพิ่มต้นทุนให้กับผู้ส่งออก แต่ในความยุ่งยากเหล่านี้ก็ถือเป็นหลักประกันได้ว่าคุณจะได้รับเงินในการขายสินค้าแน่นอน
                การขายแบบ Letter of Credit (L/C) หรือ เลตเตอร์ออฟเครดิตทางการค้า  หมายถึง ตราสารที่ธนาคารผู้เปิด L/C เป็นผู้ออกโดยคำสั่งของผู้ซื้อ เพื่อแจ้งไปยังผู้ขายผ่านทางธนาคาร ตัวแทนเป็นการยืนยันว่าเมื่อผู้ขายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ถูกต้องครบถ้วนแล้วธนาคารผู้เปิด L/C จะชำระเงินให้แก่ผู้ขาย  สาเหตุที่ผู้ส่งออกนิยมใช้วิธีนี้ก็เพราะ ผู้ซื้อมีความมั่นใจว่าถ้าสั่งซื้อสินค้าด้วยการเปิด L/C ไปให้ผู้ขายแล้วผู้ขายจะจัดส่งสินค้าไปให้ครบถ้วนตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C ทุกประการ หากผู้ขายไม่ปฏิบัติตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ใน L/C ธนาคารก็จะเป็นผู้รับผิดชอบในการติดต่อประณีประนอม หรือฟ้องร้องเรียกค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากผู้ขายได้   ส่วนผู้ขายเองก็มีความมั่นใจในการส่งสินค้าออกเช่นเดียวกัน เพราะหลังจากที่ส่งสินค้าไปให้ผู้ซื้อแล้วและจัดทำเอกสารส่งออกให้ครบและถูกต้องก็จะสามารถไปรับเงินจากธนาคารในประเทศของผู้ขายได้ทันที
               จุดที่ผู้ส่งออกต้องระมัดระวังมากที่สุด คือ เงื่อนไขที่ระบุไว้ใน L/C เพราะหากเกิดข้อผิดพลาดอย่างเช่นเงื่อนไขที่ซับซ้อนหรือแม้กระทั่งตัวสะกดของชื่อบุคคล บริษัท ถนน ไม่ว่าจะมีเขตนาหรือไม่ก็ตามธนาคารจะไม่ยอมจ่ายเงินให้ผู้ส่งออกจนกว่าจะแก้ไขให้ถูกต้องเสียก่อน ผู้ที่จะช่วยตรวจสอบ L/C ให้เราได้ดีที่สุดคือ ธนาคาร เพราะนอกจากความถูกต้องแล้วยังช่วยวิเคราะห์ความน่าเชื่อถือทางการเงินของผู้ซื้อและให้คำแนะนำด้วยเงื่อนไขที่ดีกว่าได้

ขั้นตอนการเปิด L/C
1.  กรอกแบบฟอร์มใบ Application ขอเปิด  L/C  พร้อมจดหมายยินยอมให้ใช้วงเงินร่วม (กรณีขอใช้วงเงินร่วม)
2.  ยื่นใบ Application พร้อม INVOICE เซ็นต์ชื่อประทับตรา
3.  ธนาคาร จะให้เอกสาร และ L/C No. ตัวจริง พร้อมใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียม ค่าใช้จ่าย L/C นำกลับมายังบริษัท
4. ให้ผู้มีอำนาจลงนามในต้นฉบับ BILL OF EXCHANGE และ ACKNOWLEDGEMENT RECEIPT เพื่อส่งคืนธนาคาร พร้อม DOCUMENTS ARRIVAL NOTICE (ไม่ต้องเซ็นชื่อ)
5.  ทางธนาคารจะจัดการเรื่องส่งเอกสาร L/C ให้ทางเมืองนอกเอง
6.  เมื่อมีสินค้าเข้ามาถึงท่าเรือแล้วทางธนาคารจะโทรมาแจ้ง
7. พิมพ์ใบ Trust Receipt (TR)  ผู้มีอำนาจลงนามเซ็นต์ชื่อประทับตรา นำไปให้ธนาคารเพื่อจะได้เอา BL และ INVOICE ตัวจริง ที่มาพร้อมกับสินค้า ไปให้ Shipping เพื่อใช้ในการนำของออกจากท่าเรือ
***** เสร็จสิ้นการเปิด L/C เพื่อออกของ *****
8. กรณีขอยึดระยะเวลาจ่ายเงิน ให้ทำจดหมาย TR Bank  เพื่อยืดระยะเวลาการจ่ายเงินกับทางธนาคาร ให้พิมพ์จดหมายขอขยายเวลาชำระตั๋ว L/C ยื่น

วิธีการทำงานและวิธีการบันทึกระบบ Letter Of Credit มีขั้นตอนอย่างไร







Incoterms

Incoterms (International Commercial Terms)
คือ เงื่อนไขทางการค้า หรือ ข้อตกลงทางการค้าที่นานาประเทศยอมรับ โดยได้กำหนดถึงความรับผิดชอบของผู้ส่งออกหรือผู้ขาย   และผู้นำเข้าหรือผู้ซื้อ รวมถึงผู้จัดส่ง เช่น เจ้าของเรือ ฯลฯ เอาไว้ด้วย
 ในการค้าระหว่างประเทศนั้น สิ่งสำคัญที่ต้องรู้ตั้งแต่เริ่มเจรจา จนถึงการเสนอราคาขาย คือ Incoterms ซึ่งมีผลต่อต้นทุน, ความรับผิดชอบในการจัดส่ง, การประกันภัย, และภาษีต่างๆ ที่จะตามมา
     Incoterms ได้ถือกำเนิดขึ้น ในปี ค.ศ. 1936 โดยหอการค้านานาชาติ (ปัจจุบันมีสำนักงานใหญ่ ณ กรุงปารีสประเทศฝรั่งเศส) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะจัดให้มีกฎเกณฑ์ระหว่างประเทศขึ้นมาสำหรับการตีความเงื่อนไขทางการค้า เพื่อหลีกเลี่ยงหรืออย่างน้อยที่สุดลดความไม่แน่นอนของการตีความเงื่อนไขดังกล่าวที่แตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ จนได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของภาษาทางการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งถูกใช้กันอย่างแพร่หลายในทั่วทุกมุมโลก
     กว่า 70 ปีที่ Incoterms ได้ถูกนำมาใช้และได้รับการปรับปรุงให้ทันสมัยเป็นระยะๆ อยู่เรื่อยมา เพื่อให้ทันต่อพัฒนาการด้านการค้าระหว่างประเทศ ที่ได้มีการขยายตัวของเขตเสรีทางศุลกากร (Customs-free Zones) การดำเนินธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) และการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ (Multimodal Transport) ซึ่งปัจจุบันรูปแบบของ Incoterms มีทั้งหมด 13 รูปแบบได้แก่

1.       EXW - Ex Warehouse (ระบุต่อท้ายด้วยสถานที่ของผู้ขาย)
เช่น Ex Warehouse : Bang-na  ผู้ขายรับภาระน้อยที่สุด ผู้ซื้อต้องรับภาระมาขนส่งจากคลังสินค้าของผู้ขายหรือสถานที่ที่ผู้ขายระบุ ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
2.       FCA - Free Carriage (ระบุต่อท้ายด้วยที่อยู่ผู้ขนส่งของผู้ซื้อ ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้)
เช่น FCA : นิ่มซี่เส็ง พุทธมณฑล    ผู้ขายรับภาระนำของไปส่งให้ผู้ขนส่งที่ผู้ซื้อระบุ เป็นการส่งภายในประเทศ ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
3.       FAS – Free Alongside Ship (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือต้นทางที่ให้ส่งของ)
เช่น FAS:Bangkok Port  ผู้ขายต้องนำสินค้าไปส่งมอบไว้ ณ ท่าเรือที่ระบุไว้เท่านั้น หากต้องมีพิธีการส่งออก การขอใบอนุญาตส่งออก ค่าภาษีส่งออก เป็นภาระของผู้ซื้อ และผู้ซื้อต้องจัดหาระวางเรือ และประกันภัยเองด้วย ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ
4.       FOB – Free On Board (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือต้นทางที่ให้ส่งของ)
เช่น FOB : Bangkok Port  เหมือนกับ FAS จะต่างกันตรงที่ผู้ขายรับภาระในเรื่องของใบอนุญาตส่งออก ค่าภาษีส่งออก พิธีการส่งออก ใบรับลงเรือ  Clean on Board ให้ผู้ซื้อด้วย แต่ผู้ซื้อยังต้องจัดหาระวางเรือ และประกันภัยเอง ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ
5.       CFR, C&F – Cost and Freight (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือปลายทาง ของผู้ซื้อ)
เช่น CFR : Ningbo Port  ผู้ขายรับภาระจัดการจนกระทั่งสินค้าอยู่บนเรือและรวมค่าขนส่งถึงท่าเรือปลายทาง แต่ไม่รวมถึงค่าประกันภัยและไม่รวมค่าใช้จ่ายในการนำขึ้นจากเรือที่ปลายทาง ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ 
6.       CIF – Cost Insurance and Freight (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือปลายทาง ของผู้ซื้อ)
เช่น CIF : Tokyo Port  ผู้ขายมีภาระเหมือน CFR แต่ผู้ขายต้องรวมถึงการจัดทำประกันภัยให้ด้วยโดยผู้ซื้อรับภาระพิธีการนำเข้า ค่าใช้จ่ายนำของขึ้นจากท่าเรือปลายทาง ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ
7.       CPT – Carriage Paid To (ระบุต่อท้ายด้วยที่อยู่ผู้ขนส่งของผู้ซื้อ ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้)
เช่น CPT : นิ่มซี่เส็ง รังสิต       ผู้ขายหมดภาระเมื่อนำสินค้าส่งมอบให้กับผู้ขนส่งรายแรก  ณ สถานที่ที่ผู้ซื้อระบุ ต่างกับ FCA ตรงที่หากต้องมีใบอนุญาตส่งออก ค่าภาษีส่งออก พิธีการส่งออกเป็นภาระของผู้ขาย ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
8.       CIP – Carriage and Insurance Paid To (ระบุต่อท้ายด้วยที่อยู่ผู้ขนส่งของผู้ซื้อ ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้),
เช่น CIP : นิ่มซี่เส็ง รังสิต     ผู้ขายมีภาระเหมือนกับ CPT และรวมถึงการทำประกันภัยขนส่ง ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
9.       DAF – Delivery at Frontier (ระบุต่อท้ายด้วยชื่อด่านชายแดน ตามที่ผู้ซื้อระบุไว้)
เช่น DAF : Rantou Malaysia  ผู้ขายมีภาระส่งมอบสินค้า ณ ชายแดนในฝั่งผู้ซื้อ ผู้ซื้อรับมอบสินค้าแล้วผ่านพิธีการนำเข้าประเทศเอง ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
10.   DES – Delivery Ex Ship (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือปลายทาง ของผู้ซื้อ)
เช่น DES : Hong Kong Port  ผู้ขายรับภาระเหมือน CIFแต่รวมค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทางด้วย ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ
11.   DEQ – Delivery Ex Quay (ระบุต่อท้ายถึงท่าเรือปลายทาง ของผู้ซื้อ)
เช่น DEQ : Hong Kong Port  ผู้ขายรับภาระเหมือน CIF แต่รวมค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง และรวมค่าขนส่งจากข้างเรือเข้าถึงบริเวณกองสินค้าชั่วคราว ใช้สำหรับการขนส่งทางทะเลและทางน้ำ
12.   DDU – Delivery Duty Unpaid (ระบุต่อท้ายถึงสถานที่ปลายทาง ของผู้ซื้อ)
เช่น DDU : Hong Kong Port  ผู้ขายรับภาระเหมือน CIF แต่รวมค่าใช้จ่ายในการนำของขึ้นจากเรือ ณ ท่าเรือปลายทาง รวมค่าขนส่งจากข้างเรือเข้าถึงบริเวณโกดังสินค้า และรวมค่าเก็บรักษาสินค้าในโกดังของท่าเรือด้วย แต่ไม่รวมภาระภาษีนำเข้าและพิธีการนำเข้า ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ
13.   DDP – Delivery Duty Paid (ระบุต่อท้ายถึงสถานที่ที่ผู้ซื้อกำหนด)
เช่น DDP : 1 Queen Rd., Hong Kong  ผู้ขายรับภาระมากที่สุด รวมค่าใช้จ่ายและภาษีทั้งหมดจนกว่าจะได้ส่งมอบให้กับผู้ซื้อ ณ จุดที่ได้ระบุไว้ ณ ประเทศปลายทาง ใช้ได้กับการขนส่งได้หลายรูปแบบ




international organazation


อักษรย่อ: ใช้ภายในสำนักเศรษฐกิจการเกษตรระหว่างประเทศ
ภาษาอังกฤษ
ภาษาไทย
ส่วนเจรจาเขตการค้าเสรี
FTA       
Free Trade Area
เขตการค้าเสรี
AKFTA                  
Asean - Korea Free Trade Agreement
ความตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-เกาหลี
BIMSTEC               
               
Bay of Bengal Initiative for Multi-Sectoral Technical and Economic
Cooperation
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจและวิชาการกลุ่มประเทศในอ่าวเบงกอล 7 ประเทศ ได้แก่ บังคลาเทศ ภูฎาน
อินเดีย พม่า เนปาล ศรีลังกา และไทย
EFTA                     
The European Free Trade Association
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สมาคมการค้าเสรียุโรป
JTEPA   

Japan-Thailand Economic Partnership
ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น
TUSFTA                               
Thailand-United States Free Trade Agreement
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-สหรัฐอเมริกา
TIFTA    

Thailand-India Free Trade Agreement
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-อินเดีย
TAFTA                  
Thailand-Australia Free Trade Agreement
ความตกลงเขตการค้าเสรีไทย-ออสเตรเลีย
ส่วนองค์การการค้าโลก
WTO     
World Trade Organization
องค์การการค้าโลก
ส่วนองค์การระหว่างประเทศ
FAO                      
Food and Agricultural Organization of the United Nations
องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ
UNCTAD               
United Nations Conference on Trade and Development
การประชุมสหประชาชาติเพื่อการค้าและการพัฒนา
UNESCAP                               
United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific
คณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติสำหรับภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
OECD                    
Organization for Economic Co-operation and Development
องค์กรเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา
APCAEM                               
Asian and Pacific Centre for Agricultral Engineering and Machinery
ศูนย์วิศวกรรมการเกษตรและเครื่องจักรกลสำหรับภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค
CIRDAP

Centre on Integrated Rural Development for Asia and the Pacific
ศูนย์การพัฒนาชนบทครบวงจรสำหรับเอเชียและแปซิฟิค
WFP      
World Food Program
โครงการอาหารโลก
CAPSA 
Centre for Alleviation of Poverty through Secondary Crop Development in Asia and the Pacific
ศูนย์ลดความยากจนโดยผ่านโครงการการเพาะปลูกรอบที่ 2 ภายในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค
IFAD                     
International Fund for Agricultural Development
กองทุนระหว่างประเทศเพื่อการพัฒนาเกษตรกรรม
ส่วนความมือทวิภาคีและพหุภาคี
ส่วนความมือทวิภาคีและพหุภาคี
ACMECS                               

Ayeyawady-Chao Phraya-Mekong Economics Strategy
กรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
IMT-GT                
Indonesia-Malaysia-Thailand Growth Triangle
สามเหลี่ยมเศรษฐกิจ อินโดนีเชีย-มาเลเชีย-ไทย
ASEAN                 
The Association of Southeast Asian Nations
สมาคมแห่งชาติเอเชียตะออกเฉียงใต้
APEC    
Asia-Pacific Economic Corporation
ความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภาคพื้นเอเชียและแปซิฟิค
EU         
European Union
ประชาคมยุโรป
ASEM   
Asia-Europe Meeting
การประชุมเอเชีย-ยุโรป
ACD
Asia Cooperation Dialogue
ความร่วมมือเอเชีย
GMS                     
Greater Mekong Sub-Region Economic Cooperation
โครงการพัฒนาความร่วมมือทางเศรษฐกิจอนุภาคลุ่มแม่น้ำโขง




ขอขอบคุณข้อมูลจาก  http://www.oae.go.th/ewt_news.php?nid=4231